เมนู

อรรถกถาคยาสูตรที่ 4


คยาสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า เพื่อจะตรัสบอกวิตกที่เกิดขึ้น ณ
ที่ทำความเพียรของตนแก่ภิกษุสงฆ์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุพฺพาหํ
ภิกฺขเว.
บทว่า โอกาสํ ได้แก่ แสงสว่างแหงทิพยจักขุญาณ. บทว่า
ญาณทสฺสนํ ได้แก่ ทัสสนะกล่าวคือ ญาณอันเป็นทิพยจักษุ.
บทว่า สนฺนิวุฏฺฐปุพฺพํ แปลว่า เคยอยู่ร่วมกัน. แต่ในพระสูตรนี้
ญาณ 8 นี้เท่านั้นมาเฉพาะในพระบาลีก่อน คือ ทิพยจักขุญาณ
อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ
ปัจจุปปันนังสญาณ อตีตังสญาณ ปุพเพนิวาสญาณ. แต่ตรัสรวม
ญาณ 8 นั้น ย่อมเป็นอันชื่อว่าตรัสพระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาคยาสีสสูตรที่ 4

12. อภิภายตนสูตร


[162] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเป็นเครื่องครอบงำ 8
ประการนี้ ประการเป็นไฉน คือ คนหนึ่งมีรูปสัญญาในภายใน
เห็นรูปในภายนอกเล็กน้อย ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณทราม
ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น
นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำประการที่ 1 คนหนึ่งมีรูปสัญญาในภายใน
เห็นรูปในภายนอกได้ไม่มีประมาณ ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณ
ทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว
จึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเครื่องครอบงำประการที่ 2 คนหนึ่งมีอรูปสัญญา
ในภายใน เป็นรูปในภายนอกได้เล็กน้อย ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมี
ผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูป
เหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำประการที่ 3
คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกได้ไม่มีประมาณ
ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำ
ประการที่ 4 คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกเขียว
มีสีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรูจึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำ
ประการที่ 5 คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอก
เหลือง มีสีเหลือง รัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ย่อมมีความสำคัญ
อย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่อง